การใช้งานโปรแกรมเว็บบราวเซอร์
7.1 เว็บเพจ
เว็บเพจ (อังกฤษ: web page, webpage) หรือแปลเป็นไทยว่า หน้าเว็บ คือเอกสารเว็บชนิดหนึ่งเหมาะสำหรับเวิลด์ไวด์เว็บและเว็บเบราว์เซอร์ เว็บเบราว์เซอร์จะแสดงเว็บเพจบนจอคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์เคลื่อนที่ เว็บเพจก็คือสิ่งที่ปรากฏออกมา แต่ศัพท์นี้ก็ยังหมายถึงแฟ้มคอมพิวเตอร์ที่มักจะเขียนเป็นเอชทีเอ็มแอลหรือภาษามาร์กอัปที่เทียบเคียงได้ ซึ่งมีลักษณะเด่นอันเป็นหลักก็คือ การจัดเตรียมข้อความหลายมิติที่จะนำไปสู่ เว็บเพจอื่น ผ่านทางลิงก์ เว็บเบราว์เซอร์จะประสานงานกับทรัพยากรเว็บที่อยู่โดยรอบเว็บเพจที่เขียน อาทิสไตล์ชีต สคริปต์ และรูปภาพ เพื่อนำเสนอเว็บเพจนั้น
เว็บเบราว์เซอร์สามารถค้นคืนเว็บเพจจากเว็บเซิร์ฟเวอร์ระยะไกลบนเครือข่ายหนึ่ง ๆ ได้ ในระดับที่สูงขึ้น เว็บเซิร์ฟเวอร์อาจจำกัดการเข้าถึงให้เฉพาะเครือข่ายส่วนตัว เช่นอินทราเน็ตภายในองค์กร หรือจัดเตรียมการเข้าถึงสู่เวิลด์ไวด์เว็บ ส่วนในระดับที่ต่ำกว่า เว็บเบราว์เซอร์จะใช้เกณฑ์วิธีขนส่งข้อความหลายมิติ (เอชทีทีพี) เพื่อสร้างการร้องขอเช่นนั้น
7.2 เว็บเบราว์เซอร์
เว็บเบราว์เซอร์ (อังกฤษ: web browser), เบราว์เซอร์ หรือ โปรแกรมค้นดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเว็บที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล ที่จัดเก็บไว้ที่เว็บเซอร์วิซหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ
เว็บเบราว์เซอร์ตัวแรกของโลกชื่อ เวิลด์ไวด์เว็บ ขณะเดียวกันเว็บเบราว์เซอร์ที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบัน (พ.ศ. 2559) คือ กูเกิล โครม รองลงมาคือมอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ และอินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ ตามลำดับ
7.3 เว็บไซต์
เว็บไซต์ (อังกฤษ: website, web site หรือ site) หมายถึง หน้าเว็บเพจหลายหน้า ซึ่งเชื่อมโยงกันผ่านทางไฮเปอร์ลิงก์ ส่วนใหญ่จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ โดยถูกจัดเก็บไว้ในเวิลด์ไวด์เว็บ หน้าแรกของเว็บไซต์ที่เก็บไว้ที่ชื่อหลักจะเรียกว่า โฮมเพจเว็บไซต์โดยทั่วไปจะให้บริการต่อผู้ใช้ฟรี แต่ในขณะเดียวกันบางเว็บไซต์จำเป็นต้องมีการสมัครสมาชิกและเสียค่าบริการเพื่อที่จะดูข้อมูล ในเว็บไซต์นั้น ซึ่งได้แก่ข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ หรือข้อมูลสื่อต่างๆ ผู้ทำเว็บไซต์มีหลากหลายระดับ ตั้งแต่สร้างเว็บไซต์ส่วนตัว จนถึงระดับเว็บไซต์สำหรับธุรกิจหรือองค์กรต่างๆ การเรียกดูเว็บไซต์โดยทั่วไปนิยมเรียกดูผ่านซอฟต์แวร์ในลักษณะของ เว็บเบราว์เซอร์
7.4 การปรับขนาดตัวอักษร
ขั้นตอนการ ปรับ Font Windows 10
- คลิกขวาที่หน้า Desktop แล้ว เลือก Display settings (ปรับ Font Windows 10)
- จากนั้นคลิกเลือกที่ Display
- จากนั้นเลือกที่ Advance display settings
- จากนั้นคลิกเลือกที่ Advanced sizing of text and other item
- ทำการปรับ Options ต่าง ๆ ที่เราต้องการปรับขนาดตัวอักษรตามที่ต้องการเลยครับ เช่น Title bar, Menus, Message boxes, icon, Tooltips เลือก แล้วปรับขนาดที่ต้องการเลยครับ
7.5 การเปิดดูหลายเว็บพร้อมกัน
สลับไปมาระหว่างหน้าต่างได้อย่างรวดเร็ว
กด Alt ค้างไว้ จากนั้นแตะ Tab จนกว่าคุณจะไปถึงหน้าต่างที่ต้องการเปิด
ดู 2 หน้าต่างพร้อมกัน
- ในหน้าต่างใดหน้าต่างหนึ่งที่คุณต้องการดู ให้คลิกขยายใหญ่สุดค้างไว้
- ลากไปที่ลูกศรซ้ายหรือขวา
- ทำซ้ำสำหรับหน้าต่างที่ 2
เคล็ดลับ: คุณสามารถใช้ทางลัด Alt + [ เพื่อย้ายไปทางซ้าย หรือ Alt + ] เพื่อย้ายไปทางขวาได้ด้วยเช่นกัน
เปิดและปิดหน้าต่างและแท็บ
- เปิดหน้าต่างใหม่: กด Ctrl + n
- เปิดแท็บใหม่: กด Ctrl + t
- ปิดหน้าต่างหรือแท็บ: ที่ด้านขวาบน ให้คลิก "ปิด"
- เปิดหน้าต่างหรือแท็บที่คุณปิดไปขึ้นมาใหม่: กด Ctrl + Shift + t
เปลี่ยนขนาดหน้าต่าง
- ดูแบบเต็มหน้าจอ: ที่ด้านบนของแป้นพิมพ์ ให้กด "เต็มหน้าจอ" (หรือ F4)
- ขยายหน้าต่างให้ใหญ่สุด: ที่ด้านขวาบน ให้คลิก "ขยายใหญ่สุด"
- ย่อหน้าต่างให้เล็กสุด: ที่ด้านขวาบน ให้คลิก "ย่อเล็กสุด"
จัดเรียงใหม่ ย้าย หรือตรึงแท็บ
คุณสามารถรวมแท็บที่เกี่ยวข้องไว้ด้วยกัน หรือย้ายแท็บเข้าหรือออกจากหน้าต่าง นอกจากนี้ หากมีหน้าเว็บที่คุณต้องการเปิดไว้ตลอด เช่น อีเมล คุณยังสามารถตรึงแท็บนั้นเพื่อให้หาได้ง่าย
- จัดเรียงแท็บภายในหน้าต่างเดียวกันใหม่: ลากแท็บไปยังตำแหน่งอื่นตามแนวด้านบนของหน้าต่างเบราว์เซอร์
- ย้ายแท็บไปยังหน้าต่างใหม่: คลิกและลากแท็บออกจากหน้าต่าง คุณสามารถทำให้แท็บที่ลากออกมาเป็นหน้าต่างใหม่ หรือลากไปไว้ในหน้าต่างอีกบานหนึ่ง
- ตรึงแท็บให้อยู่กับที่: คลิกขวาที่แท็บแล้วเลือกตรึงแท็บ แท็บที่ถูกตรึงจะปรากฏทางด้านซ้ายของหน้าต่างเบราว์เซอร์ และจะมีขนาดเล็กลง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น