วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2561

บทที่ 10 การเขียนเว็บเพจด้วยภาษา HTML

การเขียนเว็บเพจด้วยภาษา HTML

1.เว็บเพจคืออะไร
เว็บเพจ (อังกฤษweb page, webpage) หรือแปลเป็นไทยว่า หน้าเว็บ คือเอกสารเว็บชนิดหนึ่งเหมาะสำหรับเวิลด์ไวด์เว็บและเว็บเบราว์เซอร์ เว็บเบราว์เซอร์จะแสดงเว็บเพจบนจอคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์เคลื่อนที่ เว็บเพจก็คือสิ่งที่ปรากฏออกมา แต่ศัพท์นี้ก็ยังหมายถึงแฟ้มคอมพิวเตอร์ที่มักจะเขียนเป็นเอชทีเอ็มแอลหรือภาษามาร์กอัปที่เทียบเคียงได้ ซึ่งมีลักษณะเด่นอันเป็นหลักก็คือ การจัดเตรียมข้อความหลายมิติที่จะนำไปสู่ เว็บเพจอื่น ผ่านทางลิงก์ เว็บเบราว์เซอร์จะประสานงานกับทรัพยากรเว็บที่อยู่โดยรอบเว็บเพจที่เขียน อาทิสไตล์ชีต สคริปต์ และรูปภาพ เพื่อนำเสนอเว็บเพจนั้น

2.เว็บเพจทำงานได้อย่างไร
นอกจากเราจะทราบประโยชน์ของเว็บเพจว่าทำอะไรได้บ้าง สิ่งสำคัญก่อนที่เราจะสร้างเว็บเพจนั่นก็คือ การเข้าใจการทำงาน และการแสดงผลของเว็บเพจกัน เพื่อเราจะสามารถวางแผนการสร้างเว็บได้อย่างถูกต้อง ตามขั้นตอนต่างๆ ดังนี้
1. ผู้ใช้พิมพ์ตำแหน่งเว็บเพจในโปรแกรมบราวเซอร์ ก็จะมีการร้องขอข้อมูลไฟล์เว็บเพจหน้านั้นไปยังเครื่องเซิร์ฟเวอร์ (Server คือ เครื่องที่เก็บและเผยเเพร่เว็บเพจ)
2. ฝั่งเซิร์ฟเวอร์จะทำการค้นหาไฟล์เว็บเพจตัวที่ถูกร้องขอ
3. เว็บเซิร์ฟเวอร์ส่งข้อมูลไปยังเครื่องผู้ใช้และแสดงผลบนบราวเซอร์
แท้จริงแล้วไฟล์เว็บเพจ จะเป็นไฟล์โปรแกรมภาษา HTML ที่เป็นตัวกำหนดให้บราวเซอร์แสดงข้อความ และดึงข้อมูลของภาพ เสียง วีดีโอ ออกมาแสดงให้อยู่ในรูปแบบและตำแหน่งตามที่โปรแกรมกำหนด ซึ่งเราจะเรียนวิธีการเขียนภาษา HTML เพื่อสร้างและตกแต่งหน้าตาเว็บเพจกันต่อไป
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เว็บเพจทํางานได้อย่างไร
3.โปรแกรมที่ใช้สร้างเว็บเพจ
โปรแกรมที่ใช้ในการสร้างเว็บเพจมีหลายโปรแกรม ขึ้นอยู่กับลักษณะการสร้างเว็บเพจ ดังนี้

1. โปรแกรมสร้างเว็บเพจด้วยการเขียนโค้ดภาษา HTML

        โปรแกรม Notepad เป็นโปรแกรมสร้างหน้าเว็บเพจด้วยภาษา HTML เป็นโปรแกรมประเภท Text Editor ที่ถูกติดตั้ง  มาพร้อม กับระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows หรือเราอาจจะดาวน์โหลดโปรแกรมที่อำนวยความสะดวกในการเขียนโค้ดคำสั่งมาติดตั้งเพิ่มเติม อย่างเช่นโปรแกรม Edit Plus เป็นต้น

2. โปรแกรมสำเร็จรูปในการสร้างเว็บเพจ

        ปัจจุบันมีโปรแกรมสำเร็จรูปที่ช่วยสร้างเว็บไซต์ได้อย่างง่ายดาย แค่เพิ่มข้อความและแทรกรูปภาพในตำแหน่งที่ต้องการบนหน้าเว็บเพจก็ทำให้เว็บเพจออกมาสวยงามได้ แถมยังมีเครื่องมือที่ช่วยจัดวางหน้าเว็บ แทรกลูกเล่น หรือภาพเคลื่อนไหวได้ด้วยโปรแกรมที่ใช้สร้างเว็บไซต์ เช่น Macromedia Dreamweaver, Microsoft FrontPage เป็นต้น ซึ่งโปรแกรมเหล่านี้จะทำการสร้างโค้ด HTML ให้อัตโนมัติ 

หน่วยที่ 1 รู้ก่อนสร้างเว็บเพจ


4.หลักการออกแบบเว็บไซต์

เว็บไซต์ในปัจจุบันจะมีการออกแบบที่แตกต่างกันไม่มากนัก ซึ่งการออกแบบหน้าตาเว็บไซต์ส่วนใหญ่จะมองดูองค์ประกอบขององค์กร หน่วยงาน หรือเนื้อหาเรื่องที่นำเสนอเป็นหลัก ซึ่งการออกแบบหน้าตของเว็บไซต์มีอยู่ 3 แบบ คือ
1. การออกแบบเว็บไซต์ที่เน้นการนำเสนอเนื้อหา
เป็นการออกแบบเว็บไซต์ที่เน้นการนำเสนอเนื้อหามากกว่ารูปภาพ โดยโครงสร้างใช้รูปแบบตารางเป็นหลัก มีการออกแบบหน้าตารูปแบบง่าย  เช่น มีเมนูสารบัญ และเนื้อหา
2. การออกแบบเว็บไซต์ที่เน้นภาพกราฟิก
เป็นการออกแบบเว็บไซต์ที่เน้นภาพกราฟิกที่สวยงาม ซึ่งอาจจะใช้โปรแกรม Photoshop สำหรับการตกแต่งภาพ ข้อดี สวยงาม น่าสนใจ ข้อเสีย อาจจะใช้เวลาในการโหลดเว็บนาน
3.การออกแบบเว็บไซต์ที่มีทั้งภาพและเนื้อหา
เป็นการออกแบบเว็บที่นิยมในปัจจุบันซึ่งประกอบด้วยข้อความ รูปภาพ โดยมีการจัดองค์ประกอบต่าง ๆ เพื่อให้เว็บน่าสนใจ

5.กระบวนการพัฒนาเว็บไซต์

แนวทางหลักการออกแบบเว็บไซต์สามารถแบ่งออกเป็นขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อให้เหมาะสมกับผู้เริ่มต้นใช้เป็นแนวทาง ในการสร้างและพัฒนาเว็บไซต์
การวางแผน การวางแผนนับว่ามีความสำคัญมากในการสร้างเว็บไซต์ เพื่อให้การทำงานในขั้นตอนต่าง ๆ มีแนว ทางที่ชัดเจนและสามารถปฏิบัติได้ตามที่ตั้งเป้าไว้ ซึ่งประกอบด้วยการกำหนดเนื้อหาและจุดประสงค์ของเว็บไซต์ การกำหนดเนื้อหาและจุดประสงค์ของเว็บไซต์ที่จะสร้าง นับเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากในการเริ่มต้นสร้างเว็บไซต์เลยทีเดียว เพื่อให้เห็นภาพว่าเราต้องการนำเสนอข้อมูลแบบใด เช่น เว็บไซต์เพื่อให้ข้อมูลข่าวสาร การบริการด้านต่าง ๆ หรือขายสินค้า เป็นต้น เมื่อสามารถกำหนดจุดประสงค์ของเว็บไซต์ได้แล้ว เงื่อนไขเหล่านี้จะเป็นตัวกำหนดโครง สร้างรูปแบบรวมถึงหน้าตา และสีเว็บไซต์ของเราด้วย การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้การสร้างและออกแบบเว็บไซต์ได้รับความนิยม การกำหนดกลุ่มเป้าหมายในการเข้าชมเว็บไซต์ก็นับว่ามีส่วนสำคัญไม่น้อย เช่น เว็บไซต์สำหรับเยาวชน นักเรียน นักศึกษาในการค้นหาข้อมูล หรือเว็บไซต์สำหรับบุคคลทั่วไปที่เข้าไปใช้บริการต่าง ๆ เป็นต้น
การเตรียมข้อมูล เนื้อหาหรือข้อมูลจัดว่าเป็นสิ่งที่เชิญชวนให้ผู้อื่นเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ และต้องทราบว่าข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ สามารถนำมาจากแหล่งใดบ้าง เช่น การคิดนำเสนอข้อมูลด้วยตัวเอง หรือนำข้อมูลที่น่าสนใจมาจากสื่ออื่น เช่น หนังสือพิมพ์ แมกกาซีน เว็บไซต์ และที่สำคัญ ขออนุญาตเจ้าของบทความก่อนเพื่อป้องกันเรื่องลิขสิทธิ์ด้วย
การเตรียมสิ่งต่าง ๆ ที่จำเป็น ในการออกแบบเว็บไซต์ต้องอาศัยความสามารถต่าง ๆ เช่น โปรแกรมสำหรับสร้าง เว็บไซต์ ภาพเคลื่อนไหว มัลติมีเดีย การจดโดเมนเนม การหาผู้ให้บริการรับฝากเว็บไซต์ (Web Hosting) เป็นต้น
การจัดโครงสร้างข้อมูล เมื่อได้ข้อมูลต่าง ๆ เช่น กำหนดเนื้อหาและจุดประสงค์ของเว็บไซต์ การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย การเตรียมข้อมูล การเตรียมสิ่งต่าง ๆ ที่จำเป็นจากขั้นแรกเรียบร้อยแล้ว ในขั้นตอนนี้ เราจะจัดระบบเพื่อใช้เป็นกรอบสำหรับการออกแบบและดำเนินการในขั้นตอนต่อไป ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
· โครงสร้างและสารบัญของเว็บไซต์
· การใช้ระบบนำผู้เข้าชมไปยังส่วนต่าง ๆ ภายในเว็บไซต์หรือที่เราเรียกว่าระบบนำทาง (Navigation)
· องค์ประกอบที่ต้องนำมาใช้ เช่น สื่อมัลติมีเดีย ภาพกราฟิก แบบฟอร์มต่าง ๆ
· การกำหนดรูปแบบและลักษณะของเว็บเพจ
· การกำหนดฐานข้อมูล ภาษาสคริปต์หรือแอปพลิเคชันที่นำมาใช้ในเว็บไซต์
· การบริการเสริมต่าง ๆ
· การออกแบบเว็บไซต์ นับเป็นขั้นตอนในการออกแบบรูปร่าง  โครงสร้างและลักษณะทางด้านกราฟิกของหน้าเว็บเพจโดย โปรแกรมที่เหมาะสมในการออกแบบคือPhotoshop หรือ Fireworks ซึ่งจะช่วยในการสร้างเค้าโครงของหน้าเว็บและองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น ชื่อเว็บไซต์ โลโก้ รูปไอคอน ปุ่มไอคอน ภาพเคลื่อนไหว แบนเนอร์โฆษณา เป็นต้น<![endif]>
· ในการออกแบบเว็บไซต์นั้นยังต้องคำนึงถึงสีสันและรูปแบบของส่วนประกอบต่าง ๆ ที่ไม่ใช่ภาพกราฟิก เช่น ขนาดของตัวอักษร สีของข้อความ สีพื้น ลวดลายของเส้นกรอบเพื่อความสวยงามและดึงดูดผู้เยี่ยมชมด้วย


บทที่ 9 การสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเบื้องต้น


การสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเบื้องต้น


1.โปรแกรม outlook express คือ

Microsoft Outlook Express เป็นโปรแกรมอีเมฟรี พื้นฐาน คุณสามารถนำเข้าข้อความอีเมลและข้อมูลบัญชีผู้ใช้จาก Outlook Express ลงในMicrosoft Outlook
ใน Outlook Express แต่ละโฟลเดอร์จดหมายสอดคล้องกับไฟล์เดียว ตัวอย่าง โฟลเดอร์กล่องจดหมายเข้าใน Outlook Express คือ ไฟล์เดียว Inbox.dbx ในทางกลับกัน Outlook เก็บข้อความแต่ละเป็นไฟล์แต่ละรายการ ถ้า Outlook Express และ Outlook ถูกติดตั้งบนคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น คุณจำเป็นต้องทราบข้อมูลนี้เพื่อให้คุณสามารถค้นหา และคัดลอกโฟลเดอร์ที่ถูกต้องเมื่อต้องใช้
เมื่อต้องการนำเข้าข้อความอีเมล เลือกกระบวนงานโดยยึดตามว่า Outlook Express และ Outlook ติดตั้งอยู่ บนเดียวกัน หรือ บนคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น

2.ส่วนประกอบของ outlook express

ส่วนประกอบหน้าต่างรับ/ส่งอีเมลของ Outlook

ส่วนประกอบหน้าต่างรับ/ส่งอีเมลของ Outlook
                 Outlook  2010 ในส่วนของ Mail  มีโฟลเดอร์สำหรับจัดเก็บอีเมลอยู่หลายโฟลเดอร์ด้วยกัน  ซึ่งเป็นเหมือนการแยกสถานะของอีเมลทั้งหมดอย่างเป็นระบบ  เช่น  อีเมลที่เพิ่งเข้ามา  อีเมลที่ถูกส่งออกไปแล้ว  หรืออีเมลที่เราลบอิ้ว  เป็นต้น

สำหรับการทำงานกับอีเมลใน  Outlook  นั้น  จะเกี่ยวข้องกับโฟลเดอร์ย่อยต่างๆ  ภายใต้โฟลเดอร์  Personal  Folders  โดยมีรายละเอียด  ดังนี้
อีเมลที่เข้ามาใหม่ทุกฉบับจะถูกนำมาเก็บในโฟลเดอร์กล่อง จดหมายเข้าก่อน


เมื่อใดที่เราลบอีเมลออกจากโฟลเดอร์หนึ่ง  อีเมลฉบับนั้นจะไม่ถูกลบทันที  แต่จะถูกนำไปเก็บในโฟลเดอร์นี้ก่อน  เพื่อให้เรา
                                                          สามารถกู้คืนกลับมาได้  หากอีเมลนั้นถูกลบโดยบังเอิญ  และถ้า
                                                          ต้องการลบอีเมลอย่างถาวรก็ให้ลบอีเมลจากโฟลเดอร์นี้ได้อีกครั้ง




                                                โฟลเดอร์รวบรวมอีเมลขาออกทั้งหมดที่เราเขียนขึ้นมา  เพื่อส่งออกไปพร้อมกันโฟลเดอร์นี้จะถูก นำมาใช้งานเมื่อมีการกำหนด             ให้  Outlook  ทำงานแบบ Office เท่านั้น

                                                 เมื่อมีการส่งอีเมล  โฟลเดอร์จะเก็บสำเนาอีเมลทุกฉบับไว้อ้างอิง
                                                                                                                                                                          ถ้าเราสั่งเซฟอีเมลที่ยังเขียนยังไม่เสร็จ  หรือจะกำหนดให้เป็นอีเมล  ต้นแบบ      อีเมลฉบับนั้น จะถูกนำมาเก็บอยู่ในโฟลเดอร์นี้
                      สำหรับแถบเครื่องมือ  Riboon  ของมุมมอง  Mail  จะประกอบด้วยกลุ่มคำสั่งสำหรับ
เลือกจัดการกับอีเมล  โดยมีกลุ่มคำสั่งที่สำคัญต่อไปนี้


3.ลดขนาดของรูปภาพและสิ่งที่แนบมาในข้อความอีเมล Outlook


รูปภาพและสิ่งที่แนบมาชนิดอื่นอาจมีขนาดแตกต่างกัน ระบบอีเมลจำนวนมาก รวมถึง Gmail, Yahoo และ Exchange จะจำกัดขนาดของข้อความอีเมลที่คุณสามารถส่งได้ ถ้าคุณกังวลเกี่ยวกับขนาดของข้อความอีเมลของคุณ หรือถ้าคุณได้รับข้อความที่มีขนาดใหญ่เกินไปที่จะส่งได้ มีหลายขั้นตอนที่คุณสามารถทำตามเพื่อลดขนาดของรูปภาพที่แนบมาและเอกสารอื่นๆ ได้ 
นอกจากการจำกัดขนาดของแต่ละข้อความ ระบบอีเมลบางระบบยังจำกัดขนาดโดยรวมของกล่องจดหมายของคุณอีกด้วย เนื่องจากแต่ละข้อความที่คุณส่งจะถูกเก็บไว้ในโฟลเดอร์ รายการที่ส่ง การลดขนาดของสิ่งที่แนบมายังช่วยให้กล่องจดหมายของคุณมีขนาดเล็กลง 


4.กำหนดให้ส่งอีเมลผ่านการเชื่อมต่อที่ปลอดภัย (TLS)

Transport Layer Security (TLS) คือโปรโตคอลความปลอดภัยที่เข้ารหัสลับอีเมลเพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัว โดย TLS พัฒนาต่อมาจาก Secure Sockets Layer (SSL)
Gmail ใช้ TLS โดยค่าเริ่มต้น แต่ถ้าการเชื่อมต่อที่ปลอดภัยใช้ไม่ได้ (ทั้งผู้ส่งและผู้รับจะต้องใช้ TLS เพื่อสร้างการเชื่อมต่อที่ปลอดภัย) Gmail จะส่งข้อความผ่านการเชื่อมต่อที่ไม่ปลอดภัย
อย่างไรก็ตาม คุณสามารถกำหนดการตั้งค่า TLS ให้ต้องใช้การเชื่อมต่อที่ปลอดภัยสำหรับอีเมลที่ส่งถึง (หรือได้รับจาก) โดเมนหรือที่อยู่อีเมลในรายการที่กำหนด

5.การบล็อก อีเมล์ ที่ไม่ต้องการ

วิธีบล็อค Email ใน Outlook

สำหรับ Outlook ของ Microsoft ดูที่ฝั่งขวาบนของเว็บ จะเห็นเครื่องหมายฟันเฟือง (settings) แล้วเลือก Option
จากนั้นจะถูกพามาที่หน้านี้ ในส่วนของ Mail ให้หา Junk email > Blocked Sender ให้เราใส่อีเมลแอดเดรสที่ต้องการบล็อคลงไป เท่านี้ก็
เรียบร้อยครับ

บทที่ 8 การใช้งานเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

การใช้งานเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

1.การค้นหาไฟล์ภาพบนอินเตอร์เน็ต


ชนิดของไฟล์รูปภาพ ชนิดของไฟล์รูปภาพที่นิยมใช้โดยทั่วไป ได้แก่ BMP,GIF,JPG,TIFF,PNG เป็นต้น
1.1 BMP (Bitmap) ไฟล์ชนิด BMP เป็นไฟล์รูปภาพ Bitmap พื้นฐาน สามารถแสดงรายละเอียดสีได้ 24 บิต จึงเหมาะกับภาพกราฟฟิกส์ เช่น
ภาพการ์ตูน หรือภาพลายเส้น เป็นต้น

    1.2 GIF (Graphic Interchange Format) แสดงรายละเอียดสีได้ 256 สี สามารถใช้เป็นรูปภาพกราฟฟิกส์ได้ทุกระบบและ เก็บรายละเอียดสี
ได้ไม่เกิน บิต มีความละเอียดของจุดภาพ (Pixel) สูง เหมาะสำหรับรูปภาพที่มีจำนวนสีไม่มาก
 เช่น รูปการูตูน ลายเส้น โลโก้ เป็นต้น เหมาะสำหรับรูปที่ 
สร้างจากคอมพิวเตอร์รูปที่ไม่มีความลึก หรือมิติของรูปมากนัก ใช้สีในรูปไม่มากรูปจำพวกนี้ได้แก่ โลโก้ หรือตัวอักษร ถ้ารูปยิ่งใช้จำนวนสีน้อย ขนาดไฟล์ของ
รูปนามสกุล GIF ก็จะยิ่งเล็กลงไปด้วย ถ้าใช้สองสีไฟล์ก็ยิ่งมีขนาดเล็กมากๆ ไฟล์ GIF มีรูปแบบพิเศษกว่าไฟล์นามสกุลอื่น คือ ไฟล์รูปแบบโปร่งแสงหรือเรียกกัน
ว่า Transparent Image ( รูปที่ไม่มี Background เหมือนรูปบนแผ่นใส ) ไฟล์ GIF สามารถทำเป็นไฟล์ภาพเคลื่อนไหวแบบง่ายๆ หรือที่รู้จักกันว่า
Animation GIF มาจากการรวมไฟล์ GIF หลายรูปเข้าด้วยกัน

     1.3 JPG (Joint Photographics Expert Group) เก็บรายละเอียดสีได้ 24 บิต สามารถแสดงสีได้สูงสุดถึง 16.7 ล้านสี ทำให้ภาพที่แสดง
มีความคมชัดสูง ไฟล์ JPG เป็นไฟล์ที่มีการบีบอัดข้อมูลทำให้ขนาดของไฟล์เล็กลง ระดับการบีบอัดข้อมูลมี ระดับ คือ Low, Middle, Compress
เหมาะสำหรับรูปภาพ ที่มีรายละเอียดของสีจำนวนมาก เช่น ภาพคน ภาพธรรมชาติ เป็นต้น

    1.4 TIFF ได้รับการพัฒนาสำหรับภาพกราฟฟิกส์ที่มีรายละเอียดสูงถึง 48 บิต ไฟล์ TIFF มีการสูญเสียของข้อมูลน้อยมากเมื่อมีการบีบอัดไฟล์ข้อมูล

    1.5 PNG ไฟล์นามสกุล PNG ถูกตั้งเป้าหมายไว้ว่า จะนำมาใช้แทนไฟล์ GIF แบบไม่เป็นทางการ เนื่องจากคุณสมบัติที่กำหนดให้สร้างขึ้นมา
เพื่อลบจุดด้อยของไฟล์ JPG และ GIF แต่สาเหตุที่ไฟล์รูปแบบนี้ ยังไม่เป็นที่แพร่หลาย นั้นเพราะว่ายังไม่มีโปรแกรมที่สนับสนุน ไฟล์นี้มากเท่าที่ควร
มีเพียงโปรแกรม Macromedia Firework

2.ประเภทของไฟล์ข้อมูล
การดำเนินการข้อมูลสารสนเทศ ในส่วนของการค้นหา ค้นคืน ส่งผ่านหรือจัดเก็บจะมีรูปแบบของไฟล์ข้อมูลหลายประเภทด้วยกัน ส่วนใหญ่จะมีอยู่ ประเภท คือ
1.           1.     ไฟล์ PDF
2.           2.    ไฟล์ DOCX

3.           3.     ไฟล์ PPTX

            เอกสาร PDF (Portable Document Format) เป็นเอกสาร e-Book (Electronics Book) รูปแบบหนึ่ง ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในปัจจุบัน โดยเฉพาะการนำเสนอผ่าน WWW โดยเป็นรูปแบบของเอกสารที่พัฒนาโดยhttp://www.adobe.com/products/acrobat/main.html เนื่องจากเอกสารลักษณะนี้ มีรูปแบบ และการจัดหน้ากระดาษ เหมือนเอกสารต้นฉบับทุกประการ มีขนาดไฟล์ไม่โตมากนัก ทำงานข้ามระบบ (Cross Platform) ได้ ทำให้เอกสารนี้เป็นอิสระจากซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และระบบปฏิบัติการ (OS) กล่าวคือ เอกสาร PDFสร้างได้ทั้งจากเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบ Macintosh และ PC และสามารถเรียกดูร่วมกันได้นั่นเอง
Portable Document Format (PDF) คือไฟล์ประเภทหนึ่งในถูกสร้างมาจากโปรแกรม Adobe Acrobat หรือโปรแกรมประเภท PDF Creater ตัวอื่นๆ เหมาะสำหรับการทำเอกสารตัวอย่างใบเสนอราคา, Manual, Sample Picture หรือเอกสารอื่นๆ ปัจจุบันเป็นที่นิยมมากในการทำ e-Document หรือ e-Paper ต่างๆ เนื่องจากไฟล์ที่ได้มีคุณภาพสูง ไม่ผิดเพี้ยนจากต้นฉบับ และผู้ที่นำไฟล์ PDF ไปใช้งาน ก็ไม่สามารถแก้ไขต้นฉบับของเราได้ด้วย ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีโปรแกรมออกมาใหม่ เพื่อที่จะแปลงไฟล์ PDF กลับไปเป็นไฟล์ในรูปแบบเดิมก็ตาม แต่จากการทดลองใช้งานแล้วพบว่า ใช้ได้กับเอกสารภาษาอังกฤษเท่านั้น สำหรับภาษาไทยยังไม่สามารถใช้งานได้ครับ นอกจากนี้ ยังรองรับการอ่านข้อมูลผ่านทาง web page ได้ด้วย
.docx คือ นามสกุลไฟล์เอกสาร ของโปรแกรม Microsoft Word  ซึ่งเวอร์ชั่นที่สามารถเปิดอ่านไฟล์นามสกุลนี้ได้ ต้องเป็น  Microsoft Word เวอร์ชั่น 2007 ขึ้นไป ส่วนเวอร์ชั่นที่ต่ำกว่าอย่าง เวอร์ชั่น 2003 นั้นไม่สามารถเปิดอ่านได้ แต่หากต้องการให้ Microsoft Word เวอร์ชั่น 2003 นั้นเปิดไฟล์ .docx ได้ ก็ต้องลงโปรแกรมเสริม ชื่อโปรแกรม Microsoft Office Compatibility Pack for Word, Excel, and PowerPoint 2007 File Formats ซึ่งโปรแกรมนี้จะช่วยให้ Microsoft Word เวอร์ชั่น 2003 ทำงานได้เสมือนเป็น เวอร์ชั่น 2007 และทำให้ Microsoft office 2003 สามารถเปิดไฟล์ .pptx และ .xlsx ได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมอื่นๆ ที่สามารถใช้เปิด ไฟล์ .docx ได้ เช่น Openoffice, Word Reader เป็นต้น

ไฟล์ที่อยู่ภายใต้การขยาย PPTX ถูกนำมาใช้เพื่อระบุไฟล์นำเสนอที่สร้างขึ้นโดยไมโครซอฟท์ PowerPoint, ซอฟแวร์ที่รู้จักกันดีมาใช้ในการสร้างงานนำเสนอที่มีการใช้การแสดงภาพนิ่ง PowerPoint Microsoft ยังสนับสนุนการใช้วัตถุสื่อที่แตกต่างกันเช่นภาพเสียงและไฟล์วิดีโอเชื่อมโยงหลายมิติและวัตถุมัลติมีเดียอื่น ๆ ที่สามารถจัดได้อย่างอิสระ นอกจากนี้ยังอาจจะนำเสนออยู่บนคอมพิวเตอร์และสำรวจผ่านคำสั่งของพรีเซนเตอร์ ไฟล์ PPTX ทำให้การใช้งานของ Open XML รูปแบบซึ่งเอกสารข้อมูลเป็นคอลเลกชันของแต่ละไฟล์ในไฟล์บีบอัดซึ่งแตกต่างจากไฟล์ PPT ซึ่งมีข้อมูลทั้งหมดในแฟ้มไบนารีเดียว ไฟล์ที่มีรูปแบบ PPTX จะถูกบันทึกเป็นการนำเสนอผลงานและไม่ได้เป็นการแสดงภาพนิ่งคนเดียวดังนั้นมันอาจจะดูและแก้ไขผ่านการเขียนซอฟต์แวร์ของตนซึ่งเป็น PowerPoint ซอฟแวร์นำเสนออื่น ๆ นอกจากนี้ยังอาจใช้ในการดูและจัดการไฟล์ PPT เช่น Kingsoft การนำเสนอและเปิดสำนักงาน ในการดูผ่านโปรแกรมอื่น ๆ ก็อาจจำเป็นต้องใช้ในการแปลงไฟล์ PPTX รูปแบบอื่น

3.โอนย้ายไฟล์ข้อมูลด้วย FTP

การโอนย้ายไฟล์ข้อมูล

การโอนย้ายข้อมูลข้ามเครือข่าย(File Transfer Protocol: FTP) FTP หรือ File Transfer Protocol เป็นบริการโอนย้ายข้อมูลข้ามเครือ ข้อมูลที่โอนย้ายมีหลาย
รูปแบบ เช่น ข้อความ เพลง รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว ข่าวสาร โปรแกรมคอมพิวเตอร์ฯลฯ โดยการโอนย้ายข้อมูลจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ 
Download คือ การนำข้อมูลจากเครื่องที่ให้บริการ FTP หรือ จากระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมาเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา 
Upload คือ การนำข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราไปไว้ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 
การใช้งาน FTP สามารถกระทำได้โดยผ่านโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser) หรือสามารถทำได้ในรูปแบบของ Text Mode ผ่าน Unix ด้วยคำสั่ง Get , Put 
หรือ Graphics Mode ผ่าน Microsoft Windows เช่น การใช้โปรแกรม Win FTP Light , Cute FTP (http://www.nectec.or.th/courseware/internet/index.html) 
การใช้บริการ FTP สามารถทำได้ทั้งผู้ที่เป็นสมาชิก FTP Server และบุคคลภายนอกที่ไม่ได้เป็นสมาชิก โดยสามารถเข้าไปใช้บริการได้บางประเภทในนามของ 
Anonymous FTP 
Anonymous FTP คือ บริการดาวน์โหลดข้อมูลที่เปิดให้บริการแบบสาธารณะโดยมี Login ที่เป็นตัวกลางในการเข้าถึง FTP Server


4.การอัพโหลดไฟล์โดยใช้โปรแกรมไฟล์ซิลลา (FileZilla Client)

FTP ย่อมาจาก (File Transfer Protocol) คือ รูปแบบมาตรฐานบนโครงข่าย (standard network protocol) ชนิดหนึ่ง ที่ใช้สำหรับการส่งไฟล์ หรือรับไฟล์ (receive file) ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นลูกข่ายที่ส่วนใหญ่จะเรียกว่าไคลเอนต์ (client) กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นแม่ข่ายที่ส่วนใหญ่จะเรียกว่า โฮสติง (hosting) หรือ เซิร์ฟเวอร์ (server) โดยที่การติดต่อกันทาง FTP เราจะต้องติดต่อกันทาง Port 21 ซึ่งก่อนที่จะเข้าใช้งานได้นั้น จะต้องเป็นสมาชิกและมีชื่อผู้เข้าใช้ (User) และ รหัสผู้เข้าใช้ (password) ก่อน โปรแกรมสำหรับติดต่อกับแม่ข่าย (server) ส่วนมากจะใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เช่นโปรแกรม ไฟล์ซิลลา FileZilla , WSFTP , CuteFTP 

บทที่ 7 การใช้งานโปรแกรมเว็บบราวเซอร์

การใช้งานโปรแกรมเว็บบราวเซอร์


       7.1 เว็บเพจ 
เว็บเพจ (อังกฤษ: web page, webpage) หรือแปลเป็นไทยว่า หน้าเว็บ คือเอกสารเว็บชนิดหนึ่งเหมาะสำหรับเวิลด์ไวด์เว็บและเว็บเบราว์เซอร์ เว็บเบราว์เซอร์จะแสดงเว็บเพจบนจอคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์เคลื่อนที่ เว็บเพจก็คือสิ่งที่ปรากฏออกมา แต่ศัพท์นี้ก็ยังหมายถึงแฟ้มคอมพิวเตอร์ที่มักจะเขียนเป็นเอชทีเอ็มแอลหรือภาษามาร์กอัปที่เทียบเคียงได้ ซึ่งมีลักษณะเด่นอันเป็นหลักก็คือ การจัดเตรียมข้อความหลายมิติที่จะนำไปสู่ เว็บเพจอื่น ผ่านทางลิงก์ เว็บเบราว์เซอร์จะประสานงานกับทรัพยากรเว็บที่อยู่โดยรอบเว็บเพจที่เขียน อาทิสไตล์ชีต สคริปต์ และรูปภาพ เพื่อนำเสนอเว็บเพจนั้น
เว็บเบราว์เซอร์สามารถค้นคืนเว็บเพจจากเว็บเซิร์ฟเวอร์ระยะไกลบนเครือข่ายหนึ่ง ๆ ได้ ในระดับที่สูงขึ้น เว็บเซิร์ฟเวอร์อาจจำกัดการเข้าถึงให้เฉพาะเครือข่ายส่วนตัว เช่นอินทราเน็ตภายในองค์กร หรือจัดเตรียมการเข้าถึงสู่เวิลด์ไวด์เว็บ ส่วนในระดับที่ต่ำกว่า เว็บเบราว์เซอร์จะใช้เกณฑ์วิธีขนส่งข้อความหลายมิติ (เอชทีทีพี) เพื่อสร้างการร้องขอเช่นนั้น

7.2 เว็บเบราว์เซอร์ 
เว็บเบราว์เซอร์ (อังกฤษ: web browser), เบราว์เซอร์ หรือ โปรแกรมค้นดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเว็บที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล ที่จัดเก็บไว้ที่เว็บเซอร์วิซหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ
เว็บเบราว์เซอร์ตัวแรกของโลกชื่อ เวิลด์ไวด์เว็บ  ขณะเดียวกันเว็บเบราว์เซอร์ที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบัน (พ.ศ. 2559) คือ กูเกิล โครม รองลงมาคือมอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ และอินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ ตามลำดับ

7.3 เว็บไซต์ 
เว็บไซต์ (อังกฤษwebsite, web site หรือ site) หมายถึง หน้าเว็บเพจหลายหน้า ซึ่งเชื่อมโยงกันผ่านทางไฮเปอร์ลิงก์ ส่วนใหญ่จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ โดยถูกจัดเก็บไว้ในเวิลด์ไวด์เว็บ หน้าแรกของเว็บไซต์ที่เก็บไว้ที่ชื่อหลักจะเรียกว่า โฮมเพจเว็บไซต์โดยทั่วไปจะให้บริการต่อผู้ใช้ฟรี แต่ในขณะเดียวกันบางเว็บไซต์จำเป็นต้องมีการสมัครสมาชิกและเสียค่าบริการเพื่อที่จะดูข้อมูล ในเว็บไซต์นั้น ซึ่งได้แก่ข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ หรือข้อมูลสื่อต่างๆ ผู้ทำเว็บไซต์มีหลากหลายระดับ ตั้งแต่สร้างเว็บไซต์ส่วนตัว จนถึงระดับเว็บไซต์สำหรับธุรกิจหรือองค์กรต่างๆ การเรียกดูเว็บไซต์โดยทั่วไปนิยมเรียกดูผ่านซอฟต์แวร์ในลักษณะของ เว็บเบราว์เซอร์

7.4 การปรับขนาดตัวอักษร

ขั้นตอนการ ปรับ Font Windows 10

  1. คลิกขวาที่หน้า Desktop แล้ว เลือก Display settings (ปรับ Font Windows 10)
    ปรับ Font Windows 10
  2. จากนั้นคลิกเลือกที่ Display
    ปรับ Font Windows 10
  3. จากนั้นเลือกที่ Advance display settings
    ปรับ Font Windows 10
  4. จากนั้นคลิกเลือกที่ Advanced sizing of text and other item
    ปรับ Font Windows 10
  5. ทำการปรับ Options ต่าง ๆ ที่เราต้องการปรับขนาดตัวอักษรตามที่ต้องการเลยครับ เช่น Title bar, Menus, Message boxes, icon, Tooltips เลือก แล้วปรับขนาดที่ต้องการเลยครับ

        7.5 การเปิดดูหลายเว็บพร้อมกัน
        สลับไปมาระหว่างหน้าต่างได้อย่างรวดเร็ว
กด Alt ค้างไว้ จากนั้นแตะ Tab จนกว่าคุณจะไปถึงหน้าต่างที่ต้องการเปิด

ดู 2 หน้าต่างพร้อมกัน

  1. ในหน้าต่างใดหน้าต่างหนึ่งที่คุณต้องการดู ให้คลิกขยายใหญ่สุดค้างไว้ Maximize window
  2. ลากไปที่ลูกศรซ้ายหรือขวา Window - dock leftWindow - dock right
  3. ทำซ้ำสำหรับหน้าต่างที่ 2
เคล็ดลับ: คุณสามารถใช้ทางลัด Alt + [ เพื่อย้ายไปทางซ้าย หรือ Alt + ] เพื่อย้ายไปทางขวาได้ด้วยเช่นกัน

เปิดและปิดหน้าต่างและแท็บ

  • เปิดหน้าต่างใหม่: กด Ctrl + n
  • เปิดแท็บใหม่: กด Ctrl + t
  • ปิดหน้าต่างหรือแท็บ: ที่ด้านขวาบน ให้คลิก "ปิด" ปิด
  • เปิดหน้าต่างหรือแท็บที่คุณปิดไปขึ้นมาใหม่: กด Ctrl + Shift + t

เปลี่ยนขนาดหน้าต่าง

  • ดูแบบเต็มหน้าจอ: ที่ด้านบนของแป้นพิมพ์ ให้กด "เต็มหน้าจอ" เต็มหน้าจอ (หรือ F4)
  • ขยายหน้าต่างให้ใหญ่สุด: ที่ด้านขวาบน ให้คลิก "ขยายใหญ่สุด" Maximize window
  • ย่อหน้าต่างให้เล็กสุด: ที่ด้านขวาบน ให้คลิก "ย่อเล็กสุด" Minimize window

จัดเรียงใหม่ ย้าย หรือตรึงแท็บ

คุณสามารถรวมแท็บที่เกี่ยวข้องไว้ด้วยกัน หรือย้ายแท็บเข้าหรือออกจากหน้าต่าง นอกจากนี้ หากมีหน้าเว็บที่คุณต้องการเปิดไว้ตลอด เช่น อีเมล คุณยังสามารถตรึงแท็บนั้นเพื่อให้หาได้ง่าย
  • จัดเรียงแท็บภายในหน้าต่างเดียวกันใหม่: ลากแท็บไปยังตำแหน่งอื่นตามแนวด้านบนของหน้าต่างเบราว์เซอร์
  • ย้ายแท็บไปยังหน้าต่างใหม่: คลิกและลากแท็บออกจากหน้าต่าง คุณสามารถทำให้แท็บที่ลากออกมาเป็นหน้าต่างใหม่ หรือลากไปไว้ในหน้าต่างอีกบานหนึ่ง
  • ตรึงแท็บให้อยู่กับที่: คลิกขวาที่แท็บแล้วเลือกตรึงแท็บ แท็บที่ถูกตรึงจะปรากฏทางด้านซ้ายของหน้าต่างเบราว์เซอร์ และจะมีขนาดเล็กล



โปรแกรม outlook express คือ

โปรแกรม outlook express คือ Microsoft Outlook Express เป็นโปรแกรมอีเมฟรี พื้นฐาน คุณสามารถนำเข้าข้อความอีเมลและข้อมูลบัญชีผู้ใช้จาก Outloo...